เมนู

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขาร
ของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี และบริขารของเราจักไม่มี ใช่ไหม ?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัย
ในฐานะ 6 เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ใน
ทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวก นี้เราเรียกว่า เป็น พระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ โนจเมสิยาสูตร

อรรถกถาเอตังมมสูตรที่ 2 ถึง

โนจเมสิยาสูตรที่ 4



ในบทว่า ทิฏฺฐํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
อารมณ์ที่เห็นได้ (ทิฏฺฐํ) ได้แก่ รูปายตนะ, อารมณ์ที่ได้ยินได้
(สุตํ) ได้แก่ สัททายตนะ, อารมณ์ที่ทราบได้ (มุตํ) ได้แก่ คันธายตนะ
รสายตนะ
(และ) โผฏฐัพพายตนะ. ก็คันธายตนะ รสายตนะ (และ)
โผฏฐัพพายตนะ นั้นเรียกว่า อารมณ์ที่ทราบได้ (มุตํ) เพราะต้อง (ให้)
มาถึง (ปสาทรูป) ก่อนจึงจะรับได้. อายตนะ 7 ที่เหลือชื่อว่า วิญญาณ

บทว่า ปตฺตํ ได้แก่ อารมณ์ที่แสวงหาหรือไม่แสวงหาก็ตาม
(แต่) ประจวบเข้า.

บทว่า ปริเยสิตํ ได้แก่ อารมณ์ที่แสวงหาแล้ว ที่มาประจวบเข้า
หรือไม่ประจวบเข้าก็ตาม.
บทว่า อนุวิจริตํ มนสา ได้แก่ อารมณ์ที่จิตตามเคล้าแล้ว
จริงอยู่1 อารมณ์ในโลก แสวงหาแล้ว จึงประจวบเข้าก็มี
แสวงหาแล้ว แต่ไม่ประจวบเข้าก็มี ไม่ได้แสวงหา แต่ประจวบเข้าก็มี
ไม่ได้แสวงหา แล้วไม่ได้ประจวบเข้าก็มี.
บรรดาอารมณ์เหล่านั้น อารมณ์ที่แสวงหาจึงพบชื่อว่า ปตฺต
(อารมณ์ที่ประจวบเข้า) แสวงหา แต่ไม่พบ ชื่อว่า ปริเยสิต (อารมณ์ที่
แสวงหา) ไม่ได้แสวงหาแต่พบก็ดี ไม่ได้แสวงหาแล้วไม่พบก็ดี ชื่อว่า
มนสานุจริตํ (ตามใคร่ครวญด้วยใจ)
อีกอย่างหนึ่ง อารมณ์ที่แสวงหาแล้ว พบบ้าง ที่ไม่ได้แสวงหา
แต่พบบ้าง ชื่อว่า ปตฺต เพราะหมายความว่าประจวบเข้าแล้ว อารมณ์
ที่แสวงหาแล้ว แต่ไม่พบเลย ชื่อว่า ปริเยสิต (อารมณ์ที่แสวงหาแล้ว)
อารมณ์ที่ไม่ได้แสวงหา ไม่ได้พบ ชื่อว่า มนสานุจริตํ (ตามใคร่ครวญ
ด้วยใจ) หรือว่าอารมณ์ทั้งหมดนี้ ชื่อว่าตามใคร่ครวญด้วยใจทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 2 ถึงสูตรที่ 4
1. ปาฐะว่า โลกสฺมึ หิ ปริเยสิตฺวา ปตฺตํปิ ฯลฯ มนสานุจริตํ นาม
ฉบับพม่าเป็น :- โลกสฺมึ หิ ปริเยสิตฺวา ปตฺตมฺปิ อตฺถิ, ปริเยสิตฺวา โนปตฺตมปิ,
อปริเยสิตฺวา ปตฺตมฺปิ, อปริเยสิตฺวา โนปตฺตมฺปิ. ตตฺถ ปริเยสิตฺวา ปตฺตํ ปตฺตํ นาม, ปริเยสิตฺวา
โนปตฺตํ ปริเยสิตํ นาม. อปริเยสิตฺวา ปตฺตญฺจ อปริเยสิตฺวา โนปตฺตยฺจ มนสานุวิจริตํ นาม.
อถวา ปริเยสิตฺวา ปตฺตมฺปิ อปริเยสิตฺวา ปตฺตมฺปิ ปตฺตฏฺเฐน ปตฺตํ นาม, ปริเยสิตฺวา โนปตฺตเมว
ปริเยสิตํ นาม, อปริเยสิตฺวา โน ปตฺตํ มนสานุวิจริตํ นาม สพฺพํ วา เอตํ มนสา อนุวิจริตเมว.
แปลตามฉบับพม่า

5. นัตถิทินนสูตร



[425] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยืดมั่นอะไร
จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวง
ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี ทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์โอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ
ปฏิบัติชอบกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเรานี้ เป็นแต่ประชุมแห่งมหาภูตรูปทั้ง 4
เมื่อใดทำกาลกิริยา เมื่อนั้น ธาตุดิน ก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตาม
ธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลาย
ย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ บุรุษ 4 คน รวมเป็น 5 ทั้งเตียงที่หามเขาไป
รอยเท้าปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า (ต่อมา) ก็กลายเป็นกระดูกสีเทา
สีนกพิลาป การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้
คำของคนบางพวกที่พูดว่า มีผล ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ
เพราะกายสลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจาก
ตายไปย่อมไม่มี. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น
รากฐาน ฯลฯ.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชา ไม่มีผล ฯลฯ
เพราะกายสลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต ย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจาก
ตายไป ย่อมไม่มี เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขาร
มีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยืดมั่นวิญญาณ